ReadyPlanet.com
dot dot
dot
**งานบริการประชาชน**
dot




ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

                                                          พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ของเจ้าหน้าที่่ของรัฐ
                                                        .....................................................................................................

ความเป็นมาของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
          แนวความคิดที่จะให้มีกฎหมายรับรองสิทธิของประชาชนไทยในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีการเคลื่่อนไหวและการเรียกร้องจากนักวิชาการและสื่่อมวลชนมาเป็นลำดับ ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดกรณีเหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2535 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลนายอานันท์  ปันยารชุน  ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีกระบวนการบริหารงานที่โปร่งใส ได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่่อยกร่างกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้น  โดยคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายฯ นี้เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้จัดการสัมมนาปรับปรุงร่างกฎหมายขึ้นหลายครั้ง  ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง  ทุกรัฐบาลต่อมาก็สนับสนุนให้มีกฎหมายนี้  ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายชวน  หลีกภัย  รัฐบาลนายบรรหาร  ศิลปะอาชาและรัฐบาลพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  กระบวนการพัฒนาทางความคิดได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ  ดังจะเห็นได้จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2534 มาเป็นฉบับ พ.ศ.2540 โดยได้บัญญัติในมาตรา 58 ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ...  เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประชาชน... แม้ว่าจะแสดงถึงความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิแต่ก็ยังเป็นบทบัญญัติที่มีขอบเขตที่แคบไปกว่าหลัก สิทธิได้รู้  ตามความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งได้ประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา  เมื่่อวันที่  10  กันยายน  2540

สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
         1. สิทธิของประชาชนในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาราของราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
                     1.1 สิทธิในการเข้าตรวจดู  สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนสามารถทำได้ แม้ว่าจะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น  โดยกฎหมายได้บัญญัติให้น่วยงานของรัฐจะต้องเตรียมข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 9 นำไปรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่่อให้ประชาชานเข้าตรวจดูได้ เช่น  แผนงานโครงการและงบประมาณ  สัญญาสัมปทาน  สัญญาที่มีสักษณะผูกขาดตัดตอน เป็นต้น
                     1.2 สิทธิในการขอสำเนาหรือการรับรองสำเนาถูกต้อง เมื่่อประชาชนได้ใช้สิทธิเข้าตรวจดูแล้ว หากสนใจข้อมูลข่าวสารของราชการในเรื่่องใดก็มีสิทธิที่จะขอสำเนา และขอให้รับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐในเรื่่องนี้้นได้

          2.สิทธิของประชาชนที่จะยื่่นคำขอข้อมูลข่าวสารเรื่่องหนึ่งเรื่่องใดตามที่ตนเองประสงค์จะรู้หรือเพื่่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่่นได้รู้หรือเพื่่อการพิทักษ์สิทธิของตนเองหรือชุมชนหรือสังคม
                     2.1 เพื่่อคุ้มครองข้อมูลข่าวสารของราชการบางประเภทซึ่งจำต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับหรือจำเป็นต้องปกปิดไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
                      2.2 เพื่่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล โดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
                       

          3. สิทธิของประชาชนในการขอตรวจดูหรือคัดสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง
                       3.1 เพื่่อให้ประชาชนมีโอกาสอย่างกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เพื่่อประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง
                        3.2 เพื่่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ต้องเปิดเผยหรืออาจไม่เปิดเผย เพื่่อให้ชัดเจนต่อการปฏิบัติ โดยจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยขน์ที่สำคัญของเอกชน
                         3.3 เพื่่อคุ้มครองการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.