พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้วยกัน 4 วิธี ดังนี้
1.เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับ โครงสร้างและการจัดองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่่อขอรับข้อมูลข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียนที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง และข้อฒุลข่าวสารอื่่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หนวยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7(4) แผนงานโครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
3. เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอเปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจาก ข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น
4. การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่จะเปิดเผยโดยวิธีนี้คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษา ค้นคว้า เป็นการทั่วไป
เมื่่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงสู่ข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้ดังนี้
1. โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับาข้อมูลาข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
2. โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้ สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
3. โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดเก็บหรือครอบครอง ดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป
4.โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น เอกสารประวัติศาสตร์